HIGHWAY @NLINE V3.1 
ทางหลวง ตามพระราชบัญญัติทางหลวง (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2549 หมายความว่า ทางหรือถนนซึ่งจัดไว้เพื่อประโยชน์ในการจราจรสาธารณะทางบก ไม่ว่าในระดับพื้นดิน ใต้หรือเหนือพื้นดิน หรือใต้หรือเหนืออสังหาริมทรัพย์อย่างอื่น นอกจากทางรถไฟและหมายความรวมถึงที่ดิน พืช พันธุ์ไม้ทุกชนิด สะพาน ท่อหรือรางระบายน้ำ อุโมงค์ ร่องน้ำ กำแพงกันดิน เขื่อน รั้ว หลักสำรวจ หลักเขต หลักระยะ ป้ายจราจร เครื่องหมายจราจร เครื่องหมายสัญญาณ เครื่องสัญญาณไฟ เครื่องแสดงสัญญาณที่จอดรถ ที่พักคนโดยสาร ที่พักริมทาง เรือหรือพาหนะสำหรับขนส่งข้ามฟาก ท่าเรือสำหรับขึ้นหรือลงรถ และอาคารหรือสิ่งอื่นอันเป็นอุปกรณ์งานทางบรรดาที่มีอยู่หรือที่ได้จัดไว้ในเขตทางหลวงเพื่อประโยชน์แก่งานทางหรือผู้ใช้ทางหลวงนั้นด้วย
  หน้าหลัก
  ผู้สอน รศ.นิรชร นกแก้ว
  เนื้อหารายวิชา
  ตัวอย่างประกอบ
  แบบฝึกหัด
      หน่วยที่ 1
      หน่วยที่ 2
      หน่วยที่ 3
      หน่วยที่ 4
      หน่วยที่ 5
      หน่วยที่ 6
      หน่วยที่ 7
      หน่วยที่ 8
      หน่วยที่ 9
  ตำราด้านวิศวกรรมโยธา
 หน่วยที่ 8 การก่อสร้างทาง [83 ข้อ]
1. ณ ตำบลหนึ่งต้องการจะก่อสร้างถนนสายหนึ่ง สภาพภูมิประเทศเป็นเนินเขา มีต้นไม้ใหญ่และทุ่งหญ้าปกคลุม ในการก่อสร้างควรทำงานใดก่อนเป็นอันดับแรก
ก. งานตัดคันทาง
ข. งานถมคันทาง
ค. งานถางป่าและงานขุดตอ
ง. งานวัสดุคัดเลือก

2. งานตัดคันทางประเภทใด ที่ต้องใช้รถดันดินตีนตะขาบ (Crawler Tractor) พร้อมติดตั้งอุปกรณ์ใบคราด เพื่อจะขุดและพิสูจน์วัสดุชนิดนั้นได้
ก. งานขุดบริเวณดินอ่อน
ข. งานตัดดิน
ค. งานตัดหินแข็ง
ง. งานตัดหินผุ

3. เมื่อบดทับชั้นทางต่าง ๆ ของโครงสร้างถนนลาดยางเสร็จแล้ว จะต้องตรวจสอบความแน่นของงานในสนาม โดยทั่วไปนิยมตรวจสอบโดยวิธีใด
ก. Balloon
ข. Pycnometer
ค. Sand Cone
ง. Volumesure

4. การตรวจสอบค่าระดับของถนนให้ทำทุกระยะกี่เมตร
ก. 25 เมตร
ข. 50 เมตร
ค. 75 เมตร
ง. 100 เมตร

5. ข้อใดไม่ใช่คุณสมบัติที่ต้องการสำหรับงานดินถมคันทาง
ก. ก่อนถมคันทางต้องตัดลาดคันทางเป็นแบบขั้นบันได (Benching)
ข. ขนาดของดินจับตัวเป็นก้อน ต้องทำให้แตกและผสมให้เข้ากัน
ค. ต้องพิจารณาค่า CBR ที่กำหนดไว้ในแบบและค่าการขยายตัวประกอบด้วย
ง. แหล่งของดินต้องได้จากหน้าดินและมีวัชพืช

6. ในกรณีที่ยังไม่ทำการก่อสร้างชั้นทางในชั้นถัดไป สำหรับงานดินถมคันทางและงานทรายถมคันทาง ถ้าต้องการเปิดให้การจราจรผ่านได้ควรทำอย่างไร
ก. การพ่นน้ำบาง ๆ ให้ชุ่มชื้นตลอดเวลาเพื่อป้องกันไม่ให้ฝุ่นฟุ้งกระจาย
ข. การลาดแอสฟัลต์ Prime Coat
ค. การลาดแอสฟัลต์ Tack Coat
ง. ใช้วัสดุที่มีคุณสมบัติเหมาะสมที่จะใช้ทำชั้นทางในชั้นถัดไปปิดทับ

7. ค่าความแน่นของการบดทับของงานถมคันทาง งานตัดคันทาง งานวัสดุคัดเลือก งานรองพื้นทางและงานพื้นทาง จะต้องบดทับให้ได้ความแน่นแห้งสม่ำเสมอตลอดไม่ต่ำกว่าร้อยละเท่าใด ของความแน่นแห้งสูงสุดที่ได้จากห้องทดลอง
ก. ร้อยละ 90
ข. ร้อยละ 95
ค. ร้อยละ 98
ง. ร้อยละ 100

8. วัสดุ Non Plastic คือวัสดุชนิดใด
ก. กรวด
ข. ดินทราย
ค. ดินเหนียว
ง. อินทรียสาร

9. ดินถมคันทางต้องมีค่าการขยายตัว (Swell) เมื่อทดสอบหาค่า CBR ไม่เกินร้อยละเท่าใด ที่ความหนาแน่นของการบดอัดร้อยละ 95 ของความหนาแน่นสูงสุดตามการทดสอบ Compaction Test แบบมาตรฐาน
ก. 2
ข. 4
ค. 6
ง. 8

10. หินคลุกเป็นวัสดุที่นิยมใช้ในการก่อสร้างชั้นทางในข้อใด
ก. ดินคันทาง (Subgrade)
ข. พื้นทาง (Base)
ค. รองพื้นทาง (Subbase)
ง. วัสดุคัดเลือก (Selected Materials)

11. วิธีการทดสอบ CBR เป็นวิธีการทดสอบเพื่อหาอะไร
ก. ค่าการทรุดตัวของวัสดุตัวอย่าง
ข. ค่ากำลังรับแรงเฉือนของวัสดุตัวอย่าง
ค. ค่าเปรียบเทียบ Bearing Value ของวัสดุตัวอย่างกับวัสดุหินมาตรฐาน
ง. วัสดุที่มีขนาดคละแบบ Well Graded ปริมาณแอสฟัลต์มาก

12. บริเวณพื้นที่ที่จะทำการก่อสร้างเป็นคูน้ำซึ่งมีดินเลน ควรใช้วัสดุใดถมคันทาง
ก. ดิน
ข. ทราย
ค. มวลรวมสังเคราะห์
ง. หิน

13. ก่อนที่จะนำวัสดุในชั้นถัดไปปูทับลงบนชั้นโครงสร้างทางแต่ละชั้นจะต้องทำการก่อสร้างโดยวิธีใด
ก. การพ่นน้ำ
ข. การลาดแอสฟัลต์ Prime Coat
ค. การลาดแอสฟัลต์ Tack Coat
ง. ใช้วัสดุที่มีคุณสมบัติเหมาะสมที่จะใช้ทำชั้นทางในชั้นถัดไปปิดทับ

14. การทดสอบการรับแรงอัดของตัวอย่างดินซีเมนต์และหินคลุกผสมซีเมนต์ที่อายุ 7 วัน ใช้การทดสอบวิธีใด
ก. California Bearing Ratio
ข. Compaction
ค. Flexural Strength
ง. Unconfined Compressive Strength

15. หากมีความจำเป็นจะต้องก่อสร้างชั้นพื้นทางในช่วงฤดูฝนจะต้องรีบทำการก่อสร้างโดยวิธีใด เพื่อมิให้ชั้นพื้นทางเกิดความเสียหาย
ก. การปูผิว
ข. การพ่นน้ำ
ค. การลาดแอสฟัลต์ Prime Coat
ง. การลาดแอสฟัลต์ Tack Coat

16. การทดสอบวิธีใด บ่งบอกคุณสมบัติของวัสดุมวลรวมถึงความแกร่งทนต่อการเสียดสี
ก. Atterberg’s Limits
ข. Los Angeles Abrasion
ค. Sand Equivalent
ง. Soundness

17. ข้อใดไม่ใช่เป็นเหตุผลที่สำคัญของการพ่นน้ำเลี้ยงผิวหน้าของรองพื้นทางดินซีเมนต์ พื้นทางหินคลุกผสมซีเมนต์และพื้นทางดินซีเมนต์ในขณะบดทับและภายหลังการบดทับให้ชื้นตลอดเวลา
ก. กำลังรับแรงอัดเพิ่มขึ้น
ข. ช่วยลดรอยแตกของผิวอันเนื่องจากการสูญเสียความชื้น
ค. ช่วยให้เกิดปฏิกิริยาระหว่างปูนซีเมนต์ ดินและน้ำให้สมบูรณ์ขึ้น
ง. ป้องกันไม่ให้ฝุ่นฟุ้งกระจาย

18. การทดสอบวิธีใด เป็นวิธีการทดสอบวัดแรงเฉือนของวัสดุมวลรวมที่บดอัดจนแน่นดี ส่วนมากจะทดสอบที่ Optimum Moisture Content
ก. California Bearing Ratio
ข. Compaction
ค. Field Density
ง. Unconfined Compressive Strength

19. งานชั้นทางใด ใช้วัสดุที่มีค่า Plastic Index น้อยที่สุด เมื่อวัสดุนั้นไม่ได้รับการปรับปรุงคุณภาพ
ก. งานพื้นทางหินคลุก
ข. งานรองพื้นทางวัสดุมวลรวม
ค. งานรองพื้นทางดินซีเมนต์
ง. งานวัสดุคัดเลือก ก

20. วัสดุที่สามารถนำมาใช้ในงานวัสดุรองใต้ผิวทางคอนกรีตนั้น ควรใช้วัสดุใด
ก. กรวดและทราย
ข. วัสดุมวลรวมและทราย
ค. หินคลุกและทราย
ง. หินผุและทราย

21. แอสฟัลต์ชนิดใด ที่ไม่ใช้ในงานลาดแอสฟัลต์ Tack Coat
ก. CRS-1
ข. CSS-1
ค. RC-70
ง. RC-250

22. Cutback Asphalt ในข้อใดที่ใช้ในงานลาดยาง Prime Coat
ก. MC-70
ข. MC-250
ค. RC-70
ง. RC-250

23. หลังจากลาดแอสฟัลต์ Prime Coat แล้วต้องปิดการจราจรอย่างน้อยกี่ชั่วโมง สำหรับสภาวะอากาศที่ดี
ก. 12 ชั่วโมง
ข. 16 ชั่วโมง
ค. 24 ชั่วโมง
ง. 48 ชั่วโมง

24. เมื่อก่อสร้างชั้นรองผิวทาง (Binder Course) เสร็จแล้ว จะต้องก่อสร้างผิวทาง (Wearing Course) ทับลงไป ก่อนการก่อสร้างผิวทางควรทำวิธีใด
ก. การทำ Seal Coat
ข. การลาดแอสฟัลต์ Prime Coat
ค. การลาดแอสฟัลต์ Tack Coat
ง. Fog Seal

25. บริเวณที่จะปะซ่อมหรือพื้นที่ที่ไม่เหมาะสมที่จะใช้เครื่องพ่นแอสฟัลต์หรือท่อพ่นแอสฟัลต์แบบมือถือได้ มีวิธีใดนอกเหนือจากวิธีที่กล่าวมาแล้ว
ก. ใช้แปรงทา
ข. ใช้พู่กัน
ค. ใช้ผ้า
ง. ใช้ไม้กวาด

26. ข้อใดเป็นวิธีการก่อสร้างก่อนที่จะฉาบส่วนผสม Slurry Seal ลงบนชั้น Single Surface Treatment
ก. Chip Seal
ข. Fog Seal
ค. Prime Coat
ง. Tack Coat

27. การกำหนดพื้นที่ที่จะทำ Tack Coat และการก่อสร้างชั้นผิวทางให้พอดี ควรใช้ระยะเวลาในการก่อสร้างเท่าไร
ก. ภายในวันเดียวไม่ทิ้งไว้ไว้ข้ามคืน
ข. 7 วัน
ค. 14 วัน
ง. 1 เดือน

28. การก่อสร้างผิวทางหรือผิวไหล่ทางด้วยการลาดแอสฟัลต์และเกลี่ยวัสดุหินย่อยหรือกรวดย่อยปิดทับเป็นการก่อสร้างผิวแบบใด
ก. Cold Mixed Asphalt
ข. Penetration Macadam
ค. Slurry Seal
ง. Surface Treatment

29. การเลือกใช้ขนาดหินย่อยหรือกรวดย่อย สำหรับผิวทางแบบ Single Surface Treatment ควรใช้ขนาดใด
ก. เบอร์ 4
ข. 3/8”
ค. 1/2”
ง. 3/4”

30. Asphalt ชนิดใด ที่ใช้ในงาน Asphalt Concrete ผสมร้อน
ก. AC 60-70
ข. AC 120-150
ค. MC-70
ง. RC-2

31. การก่อสร้างผิวทางแบบ Single Surface Treatment ขณะที่โรยหินย่อยหรือกรวดย่อยปิดทับแอสฟัลต์ ให้บดทับด้วยเครื่องจักรชนิดใด
ก. รถเกรด
ข. รถตีนตะขาบ
ค. รถบดล้อยาง
ง. รถบดล้อเหล็ก

32. ถ้าไม่สามารถปิดการจราจรได้สำหรับผิวทาง Single Surface Treatment ให้ควบคุมความเร็วของการจราจรที่ผ่านไม่ให้เกินกี่กิโลเมตรต่อชั่วโมง
ก. 25 กิโลเมตรต่อชั่วโมง
ข. 30 กิโลเมตรต่อชั่วโมง
ค. 35 กิโลเมตรต่อชั่วโมง
ง. 40 กิโลเมตรต่อชั่วโมง

33. การก่อสร้างผิวทางเป็นชั้น ๆ โดยการปูหินย่อยหรือกรวดย่อยที่ได้บดทับและลาดทับด้วยแอสฟัลต์เป็นการก่อสร้างผิวทางแบบใด
ก. Asphalt Concrete
ข. Double Surface Treatment
ค. Penetration Macadam
ง. Slurry Seal

34. วัสดุใดไม่ใช่วัสดุผสมแทรกหรือวัสดุอัดแทรก สำหรับผิวทางแอสฟัลต์คอนกรีต
ก. ปูนขาว
ข. ปูนซีเมนต์
ค. ฝุ่นหิน
ง. หินฝุ่น

35. ผิวพื้นสะพานคอนกรีตที่จะต้องปูชั้นทางของส่วนผสมแอสฟัลต์คอนกรีต จะต้องขูดวัสดุยาแนวรอยแตกและรอยต่อส่วนเกินที่ติดอยู่ที่ผิวคอนกรีตออกให้หมด แล้วทำการก่อสร้างวิธีใดต่อไป
ก. ปูผิวทาง Asphalt Concrete
ข. ปูผิวทาง Cold Mixed Asphalt
ค. ลาดแอสฟัลต์ Prime Coat
ง. ลาดแอสฟัลต์ Tack Coat

36. ชั้นโครงสร้างของถนนชั้นใด ใช้วัสดุที่มีความแข็งแกร่ง ทนทาน รับน้ำหนักสูงได้ดี มีค่า CBR > 80%
ก. ดินเดิม
ข. พื้นทาง
ค. รองพื้นทาง
ง. วัสดุคัดเลือก

37. ผิวทางชนิดใดก่อสร้างผิวทางหรือผิวไหล่ทาง ด้วยการก่อสร้างผิวทางชั้นแรกแบบ Single Surface Treatment บนชั้นทางใด ๆ ที่ได้เตรียมไว้แล้วฉาบด้วยผิวแบบ Slurry Seal ทับลงไปอีก 1 ชั้น หรือ 2 ชั้น
ก. Slurry Seal
ข. Surface Treatment
ค. Cape Seal
ง. Cold Mixed Asphalt

38. การลาดแอสฟัลต์ชนิดเหลวเพื่อให้แอสฟัลต์ซึมลงในช่องว่างของพื้นทาง ทำหน้าที่ป้องกันไม่ให้ความชื้นซึมผ่านและเป็นตัวยึดเหนี่ยวให้พื้นทางเชื่อมต่อกับผิวทาง เป็นการลาดแอสฟัลต์ชนิดใด
ก. Fog Seal
ข. Prime Coat
ค. Seal Coat
ง. Tack Coat

39. ผิวทางชนิดใดที่ใช้ฉาบเพื่อยารอยแตกปูเป็นผิวทางบางชนิดใช้เพื่อป้องกันน้ำซึมลงในพื้นทางฉาบผิวเพื่อแก้รูปร่าง Crown Slope ที่ผิดไปเล็กน้อย ฉาบผิวทางที่ผิวทางเดิมหลุดเป็นต้น
ก. Cape Seal
ข. Chip Seal
ค. Single Surface Treatment
ง. Slurry Seal

40. เหล็กชนิดใด ทำหน้าที่ถ่ายน้ำหนักจากแผ่นคอนกรีตต่างผืนกันรับแรงเฉือนและแรงกระแทกจากล้อของยานพาหนะ
ก. ตะแกรงเหล็กเสริม
ข. ปลอกเหล็กเดือย
ค. เหล็กเดือย
ง. เหล็กยึด

41. หลังจากลาดแอสฟัลต์แล้วต้องปิดการจราจรจนครบกำหนด ถ้ามีแอสฟัลต์ซึมลงไปในพื้นทางไม่หมดให้ใช้วัสดุใดซับแอสฟัลต์และเป็นการป้องกันแอสฟัลต์ติดล้อ
ก. ดินลูกรัง
ข. ทราย
ค. หินคลุก
ง. หินดินดาน

42. ผิวทางชนิดใด ที่มีส่วนผสมของปูนซีเมนต์
ก. Asphalt Concrete
ข. Cold Mixed Asphalt
ค. Slurry Seal
ง. Surface Treatment

43. บริเวณรอยต่อถนนคอนกรีตควรยาแนวด้วยวัสดุใด (ตามลำดับ)
ก. Joint Primer, Joint Sealer
ข. Joint Prime Coat, Joint Tack Coat
ค. Joint Sealer, Joint Primer
ง. Joint Tack Coat, Joint Prime Coat

44. เหล็กที่ใช้ในงานผิวทางคอนกรีตมีหน้าที่เสริมเพื่อป้องกันการแตกร้าวของคอนกรีตคือเหล็กชนิดใด
ก. ตะแกรงลวดเหล็กกล้า
ข. เหล็กเดือย
ค. เหล็กฉาก
ง. เหล็กยึด

45. ชั้นทางใดไม่จัดว่าเป็นชั้นทางประเภทเดียวกัน
ก. Base Course
ข. Binder Course
ค. Wearing Course (9.5 มม.)
ง. Wearing Course (12.5 มม.)

46. งานตัดคันทางของวัสดุชนิดใด ต้องเปลี่ยนวัสดุใหม่ที่มีคุณภาพตามกำหนดไว้
ก. งานขุดบริเวณดินอ่อน
ข. งานตัดดิน
ค. งานตัดหินแข็ง
ง. งานตัดหินผุ

47. การก่อสร้างคันทางตามลาดเชิงเขา หรือทำการก่อสร้างขยายคันทางใหม่บนคันทางเดิมให้ตัดลาดเชิงเขา หรือลาดคันทางเดิมเป็นแบบใด
ก. Benching
ข. Bending
ค. Fencing
ง. Training

48. งานไหล่ทางวัสดุมวลรวม (Soil - Aggregate Shoulder) กรณีใช้วัสดุชนิดใดต้องมีการตรวจสอบค่า Durability Index ก่อนให้ได้ตามข้อกำหนด
ก. Sandstone
ข. Schists
ค. Shale
ง. Slate

49. หลังจากที่ได้เตรียมชั้นพื้นทางเรียบร้อยแล้วคือ ตรวจสอบระดับและความแน่นก่อนการลาดแอสฟัลต์ จะต้องใช้เครื่องมือใดในการทำงานกวาดฝุ่น
ก. Bulldozer
ข. Rotary Broom
ค. Scrapers
ง. Tractor Shovels

50. การลาดแอสฟัลต์ไม่ควรลาดจนหมดถังเพราะอะไร
ก. จะได้จัดหาได้ทันการลาดครั้งต่อไป
ข. ถังบรรจุจะสึกกร่อนได้เร็วขึ้น
ค. ทำให้คุณสมบัติของแอสฟัลต์เสื่อมลง
ง. ทำให้อัตราแอสฟัลต์พ่นออกมาผิดไปจากที่กำหนดไว้

51. ในงาน Cold Mixed Asphalt จะใช้ Asphalt ชนิดใด
ก. AC 60-70
ข. CMS-2h
ค. MC-70
ง. RS-2

52. กรณีพื้นเดิมเป็น Prime Coat หรือผิวทางแอสฟัลต์คอนกรีต หรือผิวปอร์ตแลนด์ซีเมนต์คอนกรีต หรือผิวทางชนิด Surface Treatment หรือผิวทางชนิด Penetration Macadam ก่อนการลงผิวทับลงไป ควรทำงานลาดแอสฟัลต์ชนิดใด
ก. Fog Seal
ข. Prime Coat
ค. Ship Seal
ง. Tack Coat

53. ผิวทางชนิดใด เมื่อปูส่วนผสมเสร็จแล้วให้ใช้หินฝุ่นหรือทรายหยาบแห้งสาดเคลือบให้สม่ำเสมอ
ก. Cape Seal
ข. Cold Mixed Asphalt
ค. Double Surface Treatment
ง. Slurry Seal

จากรูปตอบข้อ 54

54. จงบอกชื่อชั้นทางตามตัวอักษร A, B, C, D, E, F และ G ตามลำดับ
ก. Surface, Base, Subbase, Selected Material A, Selected Material B, Compacted Embankment and Subgrade
ข. Surface, Subbase, Base, Selected Material A, Selected Material B, Compacted Embankment and Subgrade
ค. Surface, Selected Material A, Selected Material B, Subbase, Base, Subgrade and Compacted Embankment
ง. Surface, Selected Material B, Selected Material A, Subbase, Base, Compacted Embankment, Subgrade

55. ข้อใดไม่ใช่เหตุผลที่สำคัญของการใช้ไม้กวาดกวาดผิวหน้าของถนนคอนกรีต
ก. กวาดเพื่อเพิ่มความสวยงามของผิวทาง
ข. เพื่อเป็นการระบายน้ำไปสูไหล่ทางได้เร็วขึ้น
ค. เพื่อลดระยะเบรกให้สั้นลง
ง. เพื่อให้เกิดความต้านทานต่อการลื่นไถลของผิวถนน

56. ชั้นทางใด เมื่อเตรียมก้อนตัวอย่างแอสฟัลต์คอนกรีตต้องบดอัดตัวอย่างด้านละ 50 ครั้ง
ก. Binder Course
ข. Base Course
ค. Shoulder Course
ง. Wearing Course

จากตารางตอบคำถามข้อ 57 – 60

57. สเลอรีซีลชนิดใด เป็นชนิดที่มีความสามารถในการแทรกซึมรอยแตกได้ดี มีความหยุ่นสูง เหมาะที่จะใช้งานยารอยแตก ปูเป็นผิวทางชั่วคราวเพื่อรอการก่อสร้างขั้นต่อไป ปูเป็นผิวทางที่รับปริมาณจราจรน้อย ความเร็วต่ำหรือพื้นทางระบายน้ำได้ดี
ก. สเลอรีซีลชนิดที่ 1
ข. สเลอรีซีลชนิดที่ 2
ค. สเลอรีซีลชนิดที่ 3
ง. สเลอรีซีลชนิดที่ 4

58. สเลอรีซีลชนิดใด เป็นชนิดที่มีส่วนละเอียดมากพอที่จะซึมลงไปในรอยแตกได้ เหมาะที่จะใช้งานฉาบผิวทางเดิมที่ขรุขระปานกลาง ปูเป็นผิวทางชนิดบางเพื่อป้องกันน้ำซึมลงในพื้นทาง ใช้แทนผิวทางแบบเซอร์เฟสทรีตเมนต์ชั้นเดียว
ก. สเลอรีซีลชนิดที่ 1
ข. สเลอรีซีลชนิดที่ 2
ค. สเลอรีซีลชนิดที่ 3
ง. สเลอรีซีลชนิดที่ 4

59. สเลอรีซีลข้อใด เป็นชนิดที่ค่อนข้างหยาบสามารถอุดรอยที่หินเดิมหลุดได้ดี ปรับระดับผิวเดิมได้เล็กน้อย
ก. สเลอรีซีลชนิดที่ 1
ข. สเลอรีซีลชนิดที่ 2
ค. สเลอรีซีลชนิดที่ 3
ง. สเลอรีซีลชนิดที่ 4

60. สเลอรีซีลข้อใด เป็นชนิดที่มีผิวหน้าหยาบสามารถอุดรอยที่หินเดิมหลุดได้ดี ปรับระดับผิวเดิมได้ดี
ก. สเลอรีซีลชนิดที่ 1
ข. สเลอรีซีลชนิดที่ 2
ค. สเลอรีซีลชนิดที่ 3
ง. สเลอรีซีลชนิดที่ 4

61. วัสดุใดไม่เป็นสารผสมเพิ่มแอสฟัลต์ เพื่อปรับปรุงคุณสมบัติของแอสฟัลต์คอนกรีต
ก. กากน้ำตาล
ข. น้ำยางพารา
ค. โพลิเมอร์
ง. ยางรถยนต์ที่เลิกใช้งานแล้ว

62. จงคำนวณหา % Passing ของ Combined Aggregate ตะแกรงขนาด 1/2”

ก. 15.8
ข. 70.7
ค. 89.8
ง. 105.6

63. การบดทับผิวทางแอสฟัลต์คอนกรีตครั้งสุดท้ายกระทำเพื่อเหตุผลอะไร
ก. เพื่อตกแแต่งผิวทางให้เรียบและลบรอยบดของล้อ
ข. เพื่อไม่มีช่องว่างมากเกินไป
ค. เพื่อให้เกิดความแน่นที่ต้องการ
ง. เพื่อให้ค่าความแน่นและเสถียรภาพสัมพันธ์กัน

64. เมื่อมีปริมาณการจราจรหนาแน่นมาก ๆ ควรก่อสร้างผิวทางลาดยางแบบใด
ก. ผิวทาง Asphalt Concrete
ข. ผิวทาง Cape Seal
ค. ผิวทาง Cold Mixed Asphalt
ง. ผิวทาง Double Surface Treatment

65. ขนาดของวัสดุมวลรวมที่ใช้กับผิวทาง Double Surface Treatment คือข้อใด
ก. 1/2 นิ้ว และ 3/8 นิ้ว
ข. 1/2 นิ้ว และ 3/4 นิ้ว
ค. 3/4 นิ้ว และ 3/8 นิ้ว
ง. 3/4 นิ้ว และ 1/2 นิ้ว

66. ในการควบคุมคุณสมบัติวัสดุที่ทำเป็นชั้นพื้นทาง โดยทั่วไปควบคุมด้วยการทดสอบตามข้อใด
ก. Atterburg Limit, California Bearing Ratio, Marshall Mix Design, Gradation
ข. Atterburg Limit, California Bearing Ratio, Marshall Mix Design, Compaction
ค. Gradation, Atterburg Limit, %Wear, Compaction
ง. Gradation, Atterburg Limit, %Wear, California Bearing Ratio

67. สำหรับไหล่ทาง Soil-Aggregate ที่ทำหน้าที่ปกป้องคันทางด้วย หน่วยงานทางควรใช้วัสดุไหล่ทางที่มีค่า Atterburg Limit ในข้อใดจึงจะเหมาะสมที่สุด
ก. Liquid Limit ไม่เกิน 25
        Plasticity Index ไม่เกิน 6
ข. Liquid Limit ไม่เกิน 25
        Plasticity Index ไม่เกิน 11
ค. Liquid Limit ไม่เกิน 35
        Plasticity Index ไม่เกิน 16
ง. Liquid Limit ไม่เกิน 35
        Plasticity Index อยู่ระหว่าง 6-16

68. AASHTO กำหนดค่ามาตรฐานสำหรับวัสดุที่ใช้ในการก่อสร้างพื้นทาง (ส่วนที่ผ่านตะแกรงเบอร์ 40) ในข้อใด
ก. Liquid Limit (LL) ≤ 25%
        Plastic Index (PI) ≤ 6%
ข. Liquid Limit (LL) ≤ 25%
        Plastic Limit (PL) ≤ 6%
ค. Liquid Limit (LL) ≤ 50%
        Plastic Index (PI) ≤ 6%
ง. Liquid Limit (LL) ≤ 50%
        Plastic Limit (PL) ≤ 6%

69. ดินที่จำแนกประเภทตามระบบ Unified Classification ได้เป็น SW หมายถึงข้อใด
ก. ดินตะกอนที่มีขนาดคละดี
ข. ดินตะกอนผสมทราย
ค. ทรายที่มีขนาดคละที่ดี
ง. ทรายผสมดินเหนียว

70. ข้อใดไม่ใช่ผลที่ได้ในการปรับปรุงคุณภาพดินด้วยปูนขาว
ก. เพิ่มกำลังรับแรงเฉือน
ข. เพิ่มกำลังรับแรงอัด
ค. ลดขนาดมวลดิน
ง. ลดความเป็นพลาสติก (PI)

71. การปรับปรุงคุณภาพดินด้วยปอร์ตแลนด์ซีเมนต์ไม่เหมาะที่จะใช้กับชั้นทางชั้นใด
ก. ดินคันทาง
ข. ผิวทาง
ค. พื้นทาง
ง. รองพื้นทาง

72. การใช้วัสดุปรับปรุงคุณภาพดินในข้อใดไม่เหมาะกับชนิดของดิน
ก. ใช้ปอร์ตแลนด์ซีเมนต์กับดินทราย
ข. ใช้ปูนขาวกับดินเหนียว
ค. ใช้ปูนขาวกับดินเหนียวปนทราย
ง. ใช้แอสฟัลต์กับดินเหนียว

73. วัสดุที่ใช้ก่อสร้างชั้นพื้นทางสำหรับผิวทางแอสฟัลต์คอนกรีตควรมีค่า CBR ไม่น้อยกว่า ร้อยละเท่าใด
ก. 40
ข. 60
ค. 80
ง. 100

74. เมื่อจำแนกประเภทของดินตามระบบ AASHTO Classification แล้ว วัสดุที่เหมาะสมที่สุดในการใช้เป็นวัสดุก่อสร้างทาง
ก. A-1 - A-3
ข. A-4 – A-6
ค. A-7
ง. A-8

75. ความมุ่งหมายของการใช้วัสดุปรับปรุงคุณภาพดินในข้อใดไม่ถูกต้อง
ก. ใช้การพ่นยางแอสฟัลต์คลุมทับดินที่บดอัดแล้ว เพื่อป้องกันมิให้น้ำซึมเข้าสู่ดิน
ข. ใช้ปูนขาวเพื่อลด Plastic Limit
ค. ใช้ปอร์ตแลนด์ซีเมนต์เพื่อลด Plastic Limit
ง. ใช้แอสฟัลต์เพื่อให้ดินลดปริมาณการดูดซึมน้ำ

76. จงคำนวณหา Bulk Specific Gravity of Specimen (GB) ในการทดสอบ Marshall Mix Design ข้อมูลมีดังนี้
ตัวอย่างชั่งในอากาศ 525 กรัม
น้ำหนักอิ่มตัวผิวแห้ง 545 กรัม
และเมื่อนำไปชั่งในน้ำ 285 กรัม
ก. 2.00
ข. 2.02
ค. 2.15
ง. 2.28

77. การผสมวัสดุมวลรวม 4 ชนิด สำหรับงานแอสฟัลต์คอนกรีต มีข้อมูลดังตาราง จงหา Specific Gravity ของ Combined Aggregate จะเท่ากับข้อใด

ก. 2.66
ข. 2.67
ค. 2.69
ง. 2.71

78. Asphalt Mixes ที่มีเสถียรภาพ (Stability) ดี ได้มาจากการใช้ส่วนผสมในข้อใด
ก. วัสดุที่มีขนาดคละดี ผิวขรุขระ ยางแอสฟัลต์แข็ง ปริมาณน้อย
ข. วัสดุที่มีขนาดคละดี ผิวขรุขระ ยางแอสฟัลต์แข็ง ปริมาณมาก
ค. วัสดุที่มีขนาดคละดี ผิวเรียบ ยางแอสฟัลต์แข็ง ปริมาณน้อย
ง. วัสดุที่มีขนาดคละไม่ดี ผิวขรุขระ ยางแอสฟัลต์แข็ง ปริมาณมาก

79. ตามมาตรฐานของกรมทางหลวง คอนกรีตที่ใช้ในงานผิวทางคอนกรีตจะต้องมีกำลังอัดลูกบาศก์ไม่น้อยกว่าเท่าใด
ก. 180 ksc
ข. 240 ksc
ค. 280 ksc
ง. 325 ksc

80. ข้อใดเป็นโลหะหรือวัสดุสังเคราะห์ถูกออกแบบให้สวมเดือยเหล็กลึกไม่น้อยกว่า 5 เซนติเมตร ปลายข้างหนึ่งปิดและยึดปลอกให้มีช่องว่างภายใน
ก. Dowel Bar
ข. Metal Cap
ค. Tie Bar
ง. Wire Mesh

81. ข้อใดเป็นรอยต่อที่ตัดเซาะแบ่งแผ่นคอนกรีตหลังจากคอนกรีตแข็งตัวแล้วด้วยเลื่อยตัดคอนกรีต หรือฝังพุกลึกลงไป 1/4 ของความหนาแผ่นคอนกรีต ขณะคอนกรีตยังไม่แข็ง เพื่อเป็นการบังคับให้รอยต่อแตกอย่างเป็นระเบียบ
ก. รอยต่อก่อสร้าง (Construction Joint)
ข. รอยต่อตามยาว (Longitudinal Joint)
ค. รอยต่อเพื่อการขยายตัว (Expansion Joint)
ง. รอยต่อเพื่อการหดตัว (Contraction Joint)

82. ข้อใดเป็นรอยต่อที่ตัดแผ่นคอนกรีตแยกขาดจากกัน โดยการกั้นแบบเทคอนกรีต รอยต่อชนิดนี้ใช้กับบริเวณที่จำเป็นต้องหยุดเทคอนกรีตเมื่อสิ้นสุดเวลาทำงานในแต่ละวัน
ก. รอยต่อก่อสร้าง (Construction Joint)
ข. รอยต่อตามยาว (Longitudinal Joint)
ค. รอยต่อเพื่อการขยายตัว (Expansion Joint)
ง. รอยต่อเพื่อการหดตัว (Contraction Joint)

83. ข้อใดไม่ใช่จุดประสงค์ของการเสริมเหล็กในแผ่นคอนกรีต
ก. ป้องกันการแตกร้าว
ข. รับน้ำหนักบรรทุกจากยานพาหนะ
ค. ลดการแอ่นตัว
ง. ยืดอายุการใช้งานของผิวทาง

 Assist. Prof. Nirachorn Nokkaew : Deptartment of Civil , Faculty of Engineering , Rajamangala University of Technology Thanyaburi 
 Please Contact E-mail Address : nirachorn@gmail.com , Website : www.nirachorn.com 
 Copyright © 1997-2017 by Nirachorn Nokkaew , All Rights Reserved. ® : Webmaster