HIGHWAY @NLINE V3.1 
ทางหลวง ตามพระราชบัญญัติทางหลวง (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2549 หมายความว่า ทางหรือถนนซึ่งจัดไว้เพื่อประโยชน์ในการจราจรสาธารณะทางบก ไม่ว่าในระดับพื้นดิน ใต้หรือเหนือพื้นดิน หรือใต้หรือเหนืออสังหาริมทรัพย์อย่างอื่น นอกจากทางรถไฟและหมายความรวมถึงที่ดิน พืช พันธุ์ไม้ทุกชนิด สะพาน ท่อหรือรางระบายน้ำ อุโมงค์ ร่องน้ำ กำแพงกันดิน เขื่อน รั้ว หลักสำรวจ หลักเขต หลักระยะ ป้ายจราจร เครื่องหมายจราจร เครื่องหมายสัญญาณ เครื่องสัญญาณไฟ เครื่องแสดงสัญญาณที่จอดรถ ที่พักคนโดยสาร ที่พักริมทาง เรือหรือพาหนะสำหรับขนส่งข้ามฟาก ท่าเรือสำหรับขึ้นหรือลงรถ และอาคารหรือสิ่งอื่นอันเป็นอุปกรณ์งานทางบรรดาที่มีอยู่หรือที่ได้จัดไว้ในเขตทางหลวงเพื่อประโยชน์แก่งานทางหรือผู้ใช้ทางหลวงนั้นด้วย
  หน้าหลัก
  ผู้สอน รศ.นิรชร นกแก้ว
  เนื้อหารายวิชา
  ตัวอย่างประกอบ
  แบบฝึกหัด
      หน่วยที่ 1
      หน่วยที่ 2
      หน่วยที่ 3
      หน่วยที่ 4
      หน่วยที่ 5
      หน่วยที่ 6
      หน่วยที่ 7
      หน่วยที่ 8
      หน่วยที่ 9
  ตำราด้านวิศวกรรมโยธา
 หน่วยที่ 5 การออกแบบโครงสร้างชั้นทาง [43 ข้อ]
1. ชั้นโครงสร้างของถนนชั้นใด ใช้วัสดุที่มีความแข็งแรง ทนทาน รับน้ำหนักสูงได้ดี มีค่า CBR > 80%
1. ดินเดิม
2. พื้นทาง
3. รองพื้นทาง
4. วัสดุคัดเลือก

2. ชั้นทางใดไม่จัดอยู่ในโครงสร้างของผิวทางแบบหยุ่นตัว (Flexible Pavement)
1. Binder Course
2. Compacted Embankment
3. Sand
4. Subbase Course

3. ดินคันทางเป็นชั้นดินเดิมเรียกว่าชั้นอะไร
1. Base Course
2. Subbase
3. Subgrade
4. Wearing Course

4. การทดสอบความแข็งแรงของดินโดยวิธีใดเป็นการจำลองสภาพอ่อนแอที่สุดเสมือนถนนอยู่ในสภาพที่ต้องแช่น้ำ
1. California Bearing Ratio Test
2. Compaction Test
3. Permeability Test
4. Plate Bearing Test

5. ผิวทางใดไม่ใช่ผิวทางของถนนแอสฟัลต์
1. Asphalt Concrete
2. Cape Seal
3. Portland Cement Concrete
4. Slurry Seal

6. การกระจายหน่วยแรงเมื่อมีน้ำหนักกด จากผิวจราจรด้านบนลงสู่ชั้นดินคันทางด้านล่างสำหรับถนนคอนกรีต (Rigid Pavement) มีสมมติฐานอย่างไร
1. กระจายเป็นรูปเอียง 45 องศา
2. กระจายเป็นรูปเอียง 60 องศา
3. กระจายเป็นรูปเอียง 80 องศา
4. กระจายสม่ำเสมอตลอดแผ่นพื้น

7. ข้อมูลด้านการจราจรที่นำมาใช้ในการออกแบบความหนาของถนนลาดยางของกรมทางหลวงคือข้อใด
1. Critical Lane Volume
2. Hourly Traffic
3. Initial Daily Traffic
4. Traffic Signalization

8. เหล็กชนิดใด ทำหน้าที่ถ่ายน้ำหนักจากแผ่นคอนกรีตต่างผืนกัน เพื่อรับแรงเฉือนและแรงกระแทกจากล้อของยานพาหนะ
1. ตะแกรงเหล็กเสริม
2. ปลอกเหล็กเดือย
3. เหล็กเดือย
4. เหล็กยึด

9. เหล็กเดือย (Dowel Bar) ไม่ใช้กับรอยต่อชนิดใดในแผ่นคอนกรีต
1. รอยต่อเพื่อการก่อสร้าง (Construction Joint)
2. รอยต่อเพื่อการขยายตัว (Expansion Joint)
3. รอยต่อเพื่อการหดตัว (Contraction Joint)
4. รอยต่อตามยาว (Longitudinal Joint)

10. Traffic Data in Year 1993 ADT = 1987 vpd
Finish Design in Year 1995
Start Construction in Year 1996
Finish Construction and Start Operation in Year 1998 จงหา ADT in Year 1998 เมื่อ Traffic Growth Rate = 6%
1. 2233 vpd
2. 2367 vpd
3. 2509 vpd
4. 2659 vpd

11. แผ่นคอนกรีตหนา 15 ซม. กว้าง 3.50 ม. ยาว 7.00 ม. จงคำนวณหาเหล็กเสริมกันร้าว
1. เหล็กเสริมตามยาว ⌀ 6 มม. @ 0.15 ม.เหล็กเสริมตามขวาง ⌀ 6 มม. @ 0.25 ม.
2. เหล็กเสริมตามยาว ⌀ 6 มม. @ 0.175 ม. เหล็กเสริมตามขวาง ⌀ 6 มม. @ 0.35 ม.
3. เหล็กเสริมตามยาว ⌀ 6 มม. @ 0.19 ม. เหล็กเสริมตามขวาง ⌀ 6 มม. @ 0.40 ม.
4. เหล็กเสริมตามยาว ⌀ 6 มม. @ 0.195 ม. เหล็กเสริมตามขวาง ⌀ 6 มม. @ 0.50 ม.

12. ข้อใดอธิบายเกี่ยวกับพฤติกรรมภายใต้น้ำหนักกระทำที่ผิวของผิวทางแบบหยุ่นตัวได้ไม่ถูกต้อง
1. กระจายน้ำหนักบรรทุกผ่านชั้นต่าง ๆ ลงสู่คันทางและชั้นดินเดิม
2. กระจายน้ำหนักเป็นระบบชั้น (Layer Systems)
3. ความแข็งแรงขึ้นอยู่กับการซ้อนทับกันของวัสดุชั้นต่าง ๆ
4. พฤติกรรมเสมือนคาน การรับน้ำหนักจึงขึ้นอยู่กับความแข็งแกร่งของคอนกรีต

13. จงหาปริมาณของเหล็กตะแกรงตามความยาวของผิวทางคอนกรีตขนาด 2 ช่องทาง แผ่นคอนกรีตหนา 20 ซม. ความกว้างของแต่ละช่องทางเท่ากับ 3.50 ม. ระยะห่างระหว่างรอยต่อ ยาว 15 ม. กำหนดให้ใช้เหล็กตะแกรงสำเร็จรูป fs = 2,700 กก./ตร.ซม. หน่วยน้ำหนักของคอนกรีตเท่ากับ 2,400 กก./ลบ.ม. และค่าสัมประสิทธิ์แรงเสียดทานเท่ากับ 1.5
1. 1.0 ตร.ซม./ม.
2. 1.5 ตร.ซม./ม.
3. 2.0 ตร.ซม./ม.
4. 4.0 ตร.ซม./ม.

14. ครึ่งหนึ่งของความยาวของเหล็กที่ใช้กับรอยต่อในแผ่นคอนกรีต เหล็กชนิดใดต้องทาด้วยวัสดุป้องกันการยึดเกาะกับเนื้อคอนกรีต
1. ครึ่งหนึ่งของความยาวของเหล็กเดือยและเหล็กยึด ต้องทาผิวด้วยวัสดุป้องกันการยึดเกาะกับเนื้อคอนกรีต
2. ครึ่งหนึ่งของความยาวของเหล็กเดือยและเหล็กยึด ไม่ต้องทาผิวด้วยวัสดุป้องกันการยึดเกาะกับเนื้อคอนกรีต
3. เหล็กเดือย (Dowel Bar)
4. เหล็กยึด (Tie Bar)

15. เหล็กที่ใช้กับรอยต่อในแผ่นคอนกรีต มีการเลือกใช้อย่างไร
1. ใช้เหล็กกลมเป็นเหล็กเดือยและใช้เหล็กข้ออ้อยเป็นเหล็กยึด
2. ใช้เหล็กกลมเป็นทั้งเหล็กเดือยและเหล็กยึด
3. ใช้เหล็กกลมเป็นเหล็กยึดและใช้เหล็กข้ออ้อยเป็นเหล็กเดือย
4. ใช้เหล็กข้ออ้อยเป็นทั้งเหล็กเดือยและเหล็กยึด

16. ในการสร้างรอยต่อเพื่อการหดตัวในแผ่นคอนกรีต มีการตัดคอนกรีตเมื่อเริ่ม Set ตัว หรือฝังพุกในขณะคอนกรีตยังไม่แข็งตัวให้ลึกลงไปเท่าไรในแผ่นคอนกรีต
1. 1/3 ของแผ่นคอนกรีต
2. 1/4 ของแผ่นคอนกรีต
3. 1/5 ของแผ่นคอนกรีต
4. 1/6 ของแผ่นคอนกรีต

17. การสร้างรอยต่อตามยาวของแผ่นคอนกรีตให้เป็นรูป Key Joint มีวัตถุประสงค์อย่างไร
1. เพื่อช่วยในการแตกออกจากกันอย่างเป็นระเบียบของแผ่นคอนกรีต
2. เพื่อช่วยในการถ่ายน้ำหนักระหว่างแผ่นคอนกรีต
3. เพื่อช่วยยึดรอยต่อมิให้แยกจากกัน
4. เพื่อป้องกันมิให้น้ำซึมลงไปในชั้นพื้นทาง

18. รอยต่อถนนคอนกรีตเพื่อการขยายตัวตามขวางเรียกว่าอะไร
1. Contraction Joint
2. Construction Joint
3. Expansion Joint
4. Longitudinal Joint

19. โดยทั่วไปวัสดุลูกรังของชั้นรองพื้นทาง จะต้องมีค่า CBR ไม่น้อยกว่าร้อยละเท่าใด (กรณีทดลองวิธีแบบ Soak)
1. 8
2. 15
3. 20
4. 25

20. มาตรฐานกรมทางหลวงการก่อสร้างทางผิวจราจรคอนกรีต (Rigid Pavement) จะต้องใช้ทรายรองพื้นหนาเท่าใด
1. 5 ซม.
2. 10 ซม.
3. 15 ซม.
4. 20 ซม.

21. ชั้นพื้นทาง (Base Course) ใช้วัสดุประเภทหินคลุก จะต้องมีค่า CBR ไม่น้อยกว่ากี่เปอร์เซ็นต์
1. 20
2. 40
3. 60
4. 80

22. Binder Course อยู่ในส่วนใดของโครงสร้างถนน
1. ดินเดิม (Subgrade)
2. ผิวทาง (Surface)
3. พื้นทาง (Base)
4. รองพื้นทาง (Subbase)

23. โครงสร้างทางชั้นใดที่อยู่ใต้ชั้นผิวทางลาดยาง
1. ดินเดิม (Subgrade)
2. ผิวทาง (Surface)
3. พื้นทาง (Base)
4. รองพื้นทาง (Subbase)

24. ผิวทางชนิดใดใช้สำหรับถนนประเภทที่มีปริมาณการจราจรสูง
1. Asphalt Concrete
2. Cape Seal
3. Penetration Macadam
4. Surface Treatment

25. ข้อใดไม่ใช่วัตถุประสงค์ในการเสริมเหล็กในถนนคอนกรีต
1. ป้องกันการแตกร้าวเนื่องจากอุณหภูมิ
2. ยึดรอยแตกร้าวไม่ให้ห่างจากกัน
3. รับแรงดัดที่เกิดจากน้ำหนักล้อกระทำกับถนน
4. ลดการแอ่นตัว (Deflection) ในถนน

26. การเสริมเหล็กกันร้าวในถนนคอนกรีตจะเสริมบริเวณใด
1. ตรงกึ่งกลางของแผ่นพื้นคอนกรีต
2. ระยะต่ำจากผิวบนประมาณ 5 ซม.
3. ระยะสูงจากผิวล่างประมาณ 5 ซม.
4. เสริมเหล็กที่ตำแหน่งใดก็ได้

27. รอยต่อถนนคอนกรีตแบบใดที่ทำหน้าที่บังคับให้รอยแตกในแผ่นคอนกรีตเกิดตรงจุดที่ต้องการ
1. Contraction Joint
2. Construction Joint
3. Expansion Joint
4. Longitudinal Joint

28. เหล็กที่ใช้กับรอยต่อในแผ่นคอนกรีตชนิดใด ที่ครึ่งหนึ่งของความยาวต้องทาผิวด้วยวัสดุป้องกันการยึดเกาะกับเนื้อคอนกรีต
1. Dowel Bar
2. Longitudinal Steel
3. Tie Bar
4. Transverse Steel

29. การกำหนดให้ใช้น้ำหนักเพลาเดี่ยวมาตรฐาน (Single Axle Load) 18,000 ปอนด์ และเปลี่ยนขนาดน้ำหนักเพลาของยวดยานต่าง ๆ ที่มาใช้ถนนให้เป็น Equivalent Axle Load (EAL) นั้น เป็นการวิเคราะห์ด้านการจราจรของการออกแบบถนนลาดยางของวิธีในข้อใด
1. วิธี Corps of Engineers
2. วิธี Group Index
3. วิธี The Asphalt Institute (1981, 1991)
4. วิธี The Asphalt Institute (1981, 1991) และวิธี Corps of Engineers

30. จากการทดสอบค่า CBR ของดินคันทางในถนนช่วงหนึ่งได้ค่า CBR จำนวน 10 ค่าคือ 9, 6, 9, 8, 7, 10, 9, 9, 8 และ 12 จงกำหนดค่า CBR ที่จะใช้ในการออกแบบโครงสร้างถนน กำหนดให้ใช้ Percentile ที่ 90
1. 7%
2. 9%
3. 10%
4. 12%

31. ในการจำลองโครงสร้างทางแบบหยุ่นตัว (Flexible) เป็นโครงสร้าง 3 ชั้น ดังรูป Stresses / Strains ที่วิกฤตในการออกแบบโครงสร้างทางคือข้อใด

1. Compressive Strains ที่ผิวล่างของชั้น Asphalt Concrete or Emulsified Asphalt Base และ Tensile Stresses ด้านบนของชั้น Subgrade
2. Tensile Stresses ที่ผิวล่างของชั้น Asphalt Concrete or Emulsified Asphalt Base และ Compressive Strains ที่ด้านบนของชั้น Subgrade
3. Tensile Stresses และ Compressive Strains ที่ผิวล่างของชั้น Asphalt Concrete or Emulsified Asphalt Base
4. Tensile Stresses และ Compressive Strains ที่ด้านบนของชั้น Subgrade

32. Full-Depth Pavement ตามความหมายของ The Asphalt Institute หมายถึงข้อใด
1. โครงสร้างถนนที่มีเฉพาะส่วนผสมวัสดุแอสฟัลต์เท่านั้นวางบนชั้น Subgrade
2. โครงสร้างถนนที่ประกอบด้วยผิวทาง พื้นทาง รองพื้นทาง และวัสดุคัดเลือก เต็มรูปแบบ
3. โครงสร้างถนนที่รับน้ำหนักมาก จึงออกแบบให้แข็งแรงเป็นพิเศษ
4. โครงสร้างถนนที่ออกแบบให้สามารถรับน้ำหนักรถได้ตลอดอายุใช้งานของทางนั้นไม่ต้องเทวัสดุผสมทับเพิ่มในภายหลัง

33. ข้อใดเป็นแบบขยายเพื่อการก่อสร้าง
1.
2.
3.
4.

34. ข้อใดเป็นแบบขยายเพื่อการขยายตัว
1.
2.
3.
4.

35. เมื่อแผ่นพื้นคอนกรีตถูกกระทำด้วยน้ำหนักล้อที่ขอบของแผ่นพื้น (Edge Loading) Tensile Stress สูงสุดในแผ่นพื้นคอนกรีตเกิดขึ้น ณ ตำแหน่งใด
1. ณ จุดที่น้ำหนักบรรทุก ผิวบนของแผ่นพื้นคอนกรีตมีทิศทางขนานกับขอบ
2. ด้านบนของแผ่นพื้นคอนกรีต ในแนวเส้นแบ่งครึ่งมุมของแผ่นพื้นคอนกรีต
3. ใต้น้ำหนักบรรทุก ที่ผิวล่างของแผ่นพื้นคอนกรีต มีขนาดเท่ากันทุกทิศทาง
4. ใต้น้ำหนักบรรทุก ผิวล่างของแผ่นพื้นคอนกรีตมีทิศทางขนานกับขอบ

36. เมื่อแผ่นพื้นคอนกรีตถูกกระทำด้วยน้ำหนักล้อที่มุมของแผ่นพื้น (Corner Loading) Tensile Stress สูงสุดเกิดขึ้น ณ ตำแหน่งใด
1. ณ จุดที่น้ำหนักบรรทุก ผิวบนของแผ่นพื้นคอนกรีตมีทิศทางขนานกับขอบ
2. ด้านบนของแผ่นพื้นคอนกรีต ในแนวเส้นแบ่งครึ่งมุมของแผ่นพื้นคอนกรีต
3. ใต้น้ำหนักบรรทุก ที่ผิวล่างของแผ่นพื้นคอนกรีต มีขนาดเท่ากันทุกทิศทาง
4. ใต้น้ำหนักบรรทุก ผิวล่างของแผ่นพื้นคอนกรีตมีทิศทางขนานกับขอบ

37. การที่แผ่นพื้นคอนกรีตรับความร้อนในตอนกลางวันและคายความร้อนในตอนกลางคืน มีผลให้อุณหภูมิภายในผืนคอนกรีตไม่เท่ากัน (มี Temperature Gradient) จึงทำให้แผ่นพื้นคอนกรีตโก่ง (Curl or Wrap) ตอนกลางวัน แผ่นพื้นคอนกรีตโก่งลงทำให้เกิดหน่วยแรงดึง (Tensile Stresses) เนื่องจาก Temperature Gradient ขึ้น ณ ที่ใดในแผ่นพื้นและกระจายอย่างไร
1. เกิดที่ผิวบนของแผ่นพื้นและมากที่สุดที่กลางผืน
2. เกิดที่ผิวล่างของแผ่นพื้นและมีค่ามากที่สุดที่กลางผืน
3. เกิดสม่ำเสมอตลอดผิวบนของแผ่นพื้น
4. เกิดสม่ำเสมอตลอดผิวล่างของแผ่นพื้น

38. เมื่ออุณหภูมิเฉลี่ยของแผ่นพื้นคอนกรีตลดลงและต้องการจะหดตัว แต่เนื่องจากมีดิน Subgrade เหนี่ยวรั้งไว้ การเหนี่ยวรั้งของ Subgrade ในกรณีนี้จะทำให้เกิด Stresses ประเภทใด
1. Bending Stresses ในแผ่นพื้น
2. Compressive Stresses ในแผ่นพื้น
3. Flexible Stresses ในแผ่นพื้น
4. Tensile Stresses ในแผ่นพื้น

39. ในการออกแบบถนนคอนกรีตควรพิจารณาออกแบบรองรับ Stresses เนื่องจากอุณหภูมิอย่างไร
1. ตัดซอยคอนกรีตเป็นผืนเล็ก เพื่อลด Stresses ให้เหลือน้อย
2. ปรับอุณหภูมิแผ่นพื้นให้คงที่มากที่สุด
3. ใส่เหล็กเสริมรับหน่วยแรงดัดเพิ่มขึ้น
4. ออกแบบแผ่นพื้นให้หนาเพียงพอที่จะรับ Stresses นี้ได้

40. จงหาหน่วยแรงที่เกิดในถนนคอนกรีตที่จุดกึ่งกลางความยาวถนนจากแรงฝืด เมื่อถนนเป็นแผ่นคอนกรีตหนา 20 ซม. ยาว 15 ม. สัมประสิทธิ์ความเสียดทานระหว่างแผ่นคอนกรีตกับพื้นทางเท่ากับ 1.5
1. 2.70 กก./ตร.ซม.
2. 3.50 กก./ตร.ซม.
3. 4.30 กก./ตร.ซม.
4. 5.40 กก./ตร.ซม.

41. จงหาจำนวนรถบรรทุกที่ใช้ในการออกแบบโครงสร้างทางตลอดอายุการใช้งาน 7 ปี โดยรถบรรทุกมีอัตราการเพิ่มขึ้น 5% คงที่ทุกปี (Growth Factor = 8.14) กำหนดให้ปีแรกคาดว่าจะมีจำนวนรถทั้งหมดทุกประเภทวันละ (ADT) 20,000 คัน/วัน Directional Value = 60% จำนวนรถบรรทุกคิดเป็น 15% ของรถทั้งหมด และรถบรรทุกจำนวน 90% วิ่งอยู่ในช่องทางที่ใช้ออกแบบ
1. 1.3 x 104 คัน
2. 3.2 x 106 คัน
3. 4.8 x 106 คัน
4. 8.0 x 106 คัน

42. รถบรรทุกล้อ (สองเพลา) คันหนึ่ง น้ำหนักรวม (Gross Vehicle Weight) เท่ากับ 12 ตัน น้ำหนักรถกระจายลงเพลาหน้าและเพลาหลังเท่ากับร้อยละ 35 และ 65 ตามลำดับ ถ้ากำหนดให้ Load Equivalency Factor = และ 1 T = 2200 lbs รถคันนี้วิ่ง 1 เที่ยว จะเทียบเท่ากับเพลามาตรฐาน (Standard Axle) วิ่งเท่าใด
1. 0.83 เที่ยว
2. 0.90 เที่ยว
1.15 เที่ยว
1.46 เที่ยว

43. ในช่องจราจรออกแบบของทางหลวงสายหนึ่ง รถบรรทุกที่ 1 คันเทียบเท่ากับเพลามาตรฐานวิ่ง 1.15 ครั้ง ในปีแรกมีรถบรรทุกผ่าน 100 คันต่อวัน และรถบรรทุกมีอัตราการเพิ่มร้อยละ 4 ต่อปี ถ้าอายุออกแบบ (Design Life) เท่ากับ 5 ปี น้ำหนักจราจรที่ใช้ออกแบบโครงสร้างทางจะเท่ากับเท่าใด
1. 0.83 เที่ยว
2. 0.90 เที่ยว
3. 1.15 เที่ยว
4. 1.46 เที่ยว

 Assist. Prof. Nirachorn Nokkaew : Deptartment of Civil , Faculty of Engineering , Rajamangala University of Technology Thanyaburi 
 Please Contact E-mail Address : nirachorn@gmail.com , Website : www.nirachorn.com 
 Copyright © 1997-2017 by Nirachorn Nokkaew , All Rights Reserved. ® : Webmaster